skip to main |
skip to sidebar
Office 2010 (beta) ดาวน์โหลดได้แล้ว [เอ.อาร์.ไอ.พี, www.arip.co.th] รายงานข่าวล่าสุด เมื่อวานนี้ไมโครซอฟท์ (Microsoft) ได้ประกาศให้ผู้ใช้ทั่วโลกสามารถดาวน์โหลด Office 2010 เวอร์ชันทดลอง (Office 2010 beta) ไปใช้กันได้แล้ว โดยทางบริษัทคาดว่า น่าจะมีผู้ใช้ที่สนใจดาวน์โหลดไปลองใช้อย่างน้อย 1 ล้านราย"ในกรณีที่คุณใช้ Office 2003 อยู่แล้วเกิดอยากลองใช้ Office 2010 คุณอาจจะรู้สึกว่า เหมือนเริ่มหัดใช้ซอฟต์แวร์กันใหม่เลยทีเดียว เนื่องจากส่วนติดต่อผู้ใช้ (User Interface) แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง แต่ถ้าคุ้นเคยกับ Office 2007 อยู่แล้ว คุณจะสามารถใช้ออฟฟิศรุ่นใหม่ได้อย่างรวดเร็ว" Chris Capossela รองประธานอาวุโสแผนกธุรกิจของไมโครซอฟท์ กล่าวเขายังกล่าวอีกด้วยว่า การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญที่เกิดขึ้นในช่วงรอยต่อระหว่าง Office 2003 และ Office 2007 จะไม่ได้มีความแตกต่างของอินเตอร์เฟซมากนัก เมื่อขยับขึ้นมาใช้ Office 2010 แต่ผู้ใช้จะรู้สึกว่า มันใช้งานง่าย และมีหลายสิ่งหลายอย่างที่ลงตัวกว่าเดิมมาก นอกจากนี้ Capossela ยังเชื่ออีกด้วยว่า ผู้ใช้จะต้องรู้สึกตื่นเต้นกับคุณสมบัติใหม่ๆ มากมายทีมาพร้อมกับออฟฟิศ 2010 อย่างเช่น ฟังก์ชันใหม่สำหรับแก้ไขวิดีโอในสไลด์ของโปรแกรม PowerPointฟังก์ชันร่วมแก้ไขเอกสารใน Word ที่เปิดโอกาสให้ผู้ใช้สองคนสามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงไฟล์เอกสารได้พร้อมกันการจัดการอีเมล์ใน Outlook และความสามารถในการผูกบัญชีผู้ใช้ Outlook เข้าไปในเว็บไซต์เครือข่ายสังคม (Social networks) ที่คุณชื่นชอบ"นี่ถือเป็นอีกหนึ่งหลักไมล์ของโปรแกรม Office ที่ใครก็สามารถใช้งาน และสนุกไปกับคุณสมบัติต่างๆ ของซอฟต์แวร์ได้อย่างครบครัน" Capossela กล่าว สำหรับกำหนดการวางตลาดของ Office 2010 จะอยู่ในช่วงประมาณกลางปี 2010 ดาวน์โหลด Office 2010 เวอร์ชันทดลองข้อมูลจาก: Channelwebที่มา http://www.arip.co.th/news.php?id=410352
เมืองเชลียงปริทรรศน์52
รูปที่ 1 แสดงการเจาะตุ่มหรือโอ่ง ต่อสายยาง และการบรรจุกรวดและทราย
3. ต่อสายยาง
ก. ต่อสายยางจากรูที่ก้นโอ่งใบที่ 1 กับสายยางที่รูก้นโอ่ง ใบที่ 2 โดยใช้ขั้วต่อ
ข. ต่อสายยางจากรูที่ปากโอ่งใบที่ 2 กับสายยางที่รูก้น โอ่งใบที่ 3 โดยใช้ขั้วต่อเช่นเดียวกัน
ค. เสียบสายยางที่รูปากโอ่งใบที่ 3 และปล่อยสายยาง ทิ้งไว้4. วิธีบรรจุกรวดและทราย
ก. กรวดและทรายละเอียดที่ใช้ต้องล้างให้สะอาด
ข. วิธีบรรจุกรวดและทรายละเอียดในโอ่งใบที่ 2 และ 3 เหมือนกัน
ค. ใส่กรวดลงก่อนให้สูงพอมิดสายยาง เพื่อกันไม่ให้ ทรายเข้าไปอุดรูสายยาง
ง. แล้วใส่ทรายละเอียดลงไปให้ความสูงของทรายอยู่ใต้ รูบนประมาณ 1 นิ้ว
5. การยกระดับ ช่วยให้การไหลของน้ำดีขึ้น และป้องกันการไหล ย้อนกลับ
ก. โอ่งใบที่ 1 สูงจากระดับพื้น 20 นิ้ว
ข. โอ่งใบที่ 2 สูงจากระดับพื้น 10 นิ้ว
ค. โอ่งใบที่ 3 สูงจากระดับพื้น 3 นิ้ว
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลศิริราช โดย ศจ.นพ. ร่มไทร สุวรรณิก ได้คิดค้นเครื่องกรองน้ำเสียให้เป็นน้ำบริสุทธิ์แบบประหยัด ด้วยวิธีการ ง่าย ๆ และลงทุนในราคา 300-400 บาท
1. อุปกรณ์
ก. โอ่งหรือถัง สูงประมาณ 18 นิ้ว (อาจจะมากกว่าก็ได้) จำนวน 3 ใบ
ข. สายยางใส เส้นผ่าศูนย์กลาง 0.5 ซม. ยาว 2 เมตร
ค. ขั้วต่อสายยาง คอยปรับระดับน้ำให้ไหลมากหรือน้อย 2 อัน สายยางและต้นขั้วต่อสายยางนั้นอาจใช้ชุดของ สายน้ำเกลือนำมาใช้ได้เลย ซึ่งสามารถขอได้ตาม โรงพยาบาลต่าง ๆ ซึ่งมีที่ปรับเร่งให้ไหลเร็วหรือช้า ก็ได้
2. วิธีเจาะ
ก. เจาะตุ่มด้วยฆ้อนกับตะปู กว้างพอกับสายยาง
ข. โอ่งหรือถังใบที 1 เจาะ 1 รู สูงจากก้นโอ่ง 2 นิ้ว
ค. โอ่งหรือถังใบที่ 2 และ 3 เจาะ 2 รู รูล่างให้เสมอกับ โอ่ง รูบนวัดจากปากโอ่งลงมา 2-3 นิ้ว
เครื่องสานจากไม้ไผ่ไม่ว่าจะเป็นรูปร่างอย่างไรก็ตามสามารถทำ ให้เป็นภาชนะสำหรับเก็บน้ำได้ โดยการนำมาฉาบด้วย “ฟลิ้นโค้ท” ซึ่งเป็น สารผสมที่ทำมาจากยางมะตอยและสารยึดเหนี่ยวหลายชนิด เป็นของเหลว ที่แห้งเร็วมีคราบเหนียว ผสมน้ำได้ แต่เมื่อแห้งแล้วไม่ละลายน้ำ ทนน้ำและ ทนทานต่อความร้อน เย็น ไม่ละลายเมื่อถูกแดดเหมือนยางมะตอย และไม่ ผุกรอบเหมือนชัน จึงมีความทนทานและมีราคาถูก ส่วนเครื่องสานไม้ไผ่ ควรสานให้ทึบที่สุด เพื่อให้ฉาบฟลิ้นโค้ทได้ง่าย วัสดุและอุปกรณ์ 1. เครื่องสานด้วยไม้ไผ่ตามขนาดที่ต้องการ2. ฟลิ้นโค้ทชนิดผสมน้ำหาซื้อได้ตามร้านขายปุ๋ย ขายสีทาบ้าน หรือยาฆ่าแมลงหรือตามปั๊มน้ำมันเชลล์ทั่วไป 3. ผ้าฝ้ายเป็นผ้าเก่าหรือใหม่ก็ได้ หรือกระดาษสา ถ้าหาไม่ได้ก็ ใช้เศษกระดาษทั่วไปแทนก็ได้ 4. แปรงสำหรับใช้ทา หรือจะใช้มือก็ได้ ภาพตัวอย่างเครื่องสานวิธีทาฟลิ้นโค้ทบนเครื่องสานเริ่มทางด้านในก่อนตามลำดับดังนี้ 1. ใช้ฟลิ้นโค้ทผสมน้ำเล็กน้อยทาบาง ๆ ให้ทั่วเป็นชั้นแรก นำไป ผึ่งแดดให้พอหมาด 2. ใช้ฟลิ้นโค้ทล้วน ๆ ทาจนทั่วเป็นชั้นที่สอง ผึ่งแดดแห้งพอหมาด แล้วจึงทาชั้นที่สามให้ทึบ 3. เอาผ้าฝ้ายตัดเป็นชิ้นในขนาดที่ทำสะดวก ชุบน้ำให้เปียกจนทั่ว บีบน้ำทิ้งแล้วชุบฟลิ้นโค้ท แล้วบุด้านในให้ชายผ้าทับกันให้เรียบร้อย ค่อย ๆ ทำไปทีละชิ้นจนแล้วเสร็จ ถ้าเป็นกระดาษสาไม่ต้องชุบน้ำ เมื่อบุดังนี้ เสร็จแล้วรีบทาทันทีเป็นชั้นที่สี่ แล้วตากให้แห้งพอหมาด ๆ 4. ทาฟลิ้นโค้ทล้วน ๆ ทับให้ทั่วเป็นชั้นสุดท้าย ด้านนอก : ทาฟลิ้นโค้ทล้วน ๆ ให้ทั่วสักสองชั้น โดยเว้นระยะผึ่ง แดดเหมือนด้านใน ทั้งสองด้านนี้ใช้เวลาประมาณ 4 ชม. เมื่อเสร็จเรียบร้อย ทุกอย่างแล้ว ให้ตากแดดทิ้งไว้สัก 1 วัน ก็นำมาใส่น้ำได้ น้ำจะไม่มีพิษหรือกลิ่นที่เป็นอันตราย ดื่มหรือใช้ได้ตามความต้องการข้อดีของที่เก็บน้ำแบบนี้คือ ราคาถูกเพราะสานได้เอง มีน้ำหนักเบา ตกไม่แตก ทนทานต่อแดดฝน กันปลวกมอดได้ดีกว่าเครื่องสานอื่น ๆ และ ซ่อมแซมง่ายเมื่อเกิดการรั่วซึมข้อควรระวังเมื่อฟลิ้นโค้ทเปื้อนเสื้อผ้า ต้องรีบขยำน้ำทันที ถ้าปล่อยให้แห้งต้อง ซักด้วยน้ำมันก๊าซ อย่าใช้ภาชนะนี้ใส่น้ำมัน เพราะฟลิ้นโค้ทแบบผสมน้ำนี้ สามารถละลายได้ในน้ำมัน ฟลิ้นโค้ทที่เหลือใช้ควรเก็บไว้ในที่ปกปิดมิดชิด ถ้าเก็บดีจะนำมาใช้ได้อีก ไม้ไผ่ที่นำมาสานต้องมีอายุแก่พอเหมาะที่จะใช้ งานได้ดี เพื่อป้องกันมอด ฝีมือสานก็ต้องดีพอ และถ้าทำขนาดใหญ่ควร มีโครงแข็งแรงเพิ่มขึ้น เมื่อยังไม่แห้งสนิท อย่าให้ถูกน้ำหรือตากฝน เพื่อนเกษตร 6(9), 2522ที่มา http://images.google.co.th/imgres?imgurl=http://www.tistr.or.th/t/publication/2/55/105-3.gif&imgrefurl=http://www.tistr.or.th/t/publication/page_area_show_bc.asp%3Fi1%3D55%26i2%3D26&usg=__pziOyn2SNXYVj6whiNf4ICl2Alg=&h=300&w=536&sz=19&hl=th&start=101&um=1&tbnid=PT8S2jbsTcxVxM:&tbnh=74&tbnw=132&prev=/images%3Fq%3D%25E0%25B8%2581%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%2581%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%2587%25E0%25B8%2599%25E0%25B9%2589%25E0%25B8%25B3%26ndsp%3D20%26hl%3Dth%26sa%3DN%26start%3D100%26um%3D1